External links
|
สิทธิและหน้าที่ของคุณ เมื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตารวจ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง หรือเจ้าหน้าที่สรรพากร Rights and Responsibilities
ทาอย่างไรเมื่อเจ้าหน้าที่ตารวจ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง หรือเจ้าหน้าที่สรรพากรมาตรวจ
บทนา
การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตารวจ
ตารางแสดงอานาจการกากับดูแลคนทางานบริการทั่วทั้งออสเตรเลีย
รัฐนิวเซาท์เวลส์
รัฐควีนสแลนด์
รัฐเซาท์ออสเตรเลีย
รัฐแทสเมเนีย
รัฐวิกตอเรีย
รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย
เขตการปกครองตนเองนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี
เขตการปกครองตนเองออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี
ตารวจแห่งสหพันธรัฐ
การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง
การติดต่อกับเจ้าหน้าที่สรรพากร
ทำอย่างไรเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง หรือเจ้าหน้าที่สรรพากรมาตรวจ
เอกสารนี้ทำขึ้นเพื่อช่วยพวกเราเมื่อต้องติดต่อพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (อิมฯ) ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งคุณจะรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของคุณมากยิ่งขึ้น
พวกเราเป็นคนทำงานบริการต่างชาติ พวกเราเข้าใจภาษาอังกฤษเพียงพอที่จะใช้ชีวิตในออสเตรเลีย คำพูดที่พวกเราใช้ในแต่ละวันต่างไปจากคำพูดที่เจ้าหน้าที่อิมฯ ตำรวจ หรือ เจ้าหน้าที่อื่นๆที่มาตรวจใช้กัน ใครก็ตามที่ทำงานบริการในออสเตรเลีย อาจเจอเจ้าหน้าที่ของรัฐมาตรวจที่ทำงานหรือตรวจผ่านโฆษณาที่คุณลง หากเจ้าหน้าที่อิมฯหรือตำรวจมาตรวจ คุณมีสิทธิที่จะไม่ตอบคำถาม และบอกว่าต้องการล่ามและทนาย {คุณติดต่อเอเย่นต์ที่คุณปรึกษาเรื่องวีซ่า หรือจะติดต่อเราที่สการ์เล็ท อะไลอันซ (Scarlet Alliance) ก็ยังได้}
เมื่อพบกับเจ้าหน้าอิมฯหรือตำรวจเราอาจตื่นตระหนกจนไม่เข้าใจว่าเขาพูดอะไร
คุณควรคำนึงถึงเรื่องการรักษาความลับและสิ่งที่คุณไม่อยากให้ใครรู้ อาจมีคนแอบได้ยินรายละเอียดที่คุณให้กับเจ้าหน้าที่ฯ แล้วอย่าลืมนึกถึงเรื่องชีวิตส่วนตัวของคุณหากให้ที่อยู่กับเจ้าหน้าที่ไป อาจมีจดหมายส่งมาและสร้างปัญหาให้กับคุณได้หากคนที่คุณอยู่ด้วยเปิดอ่านโดยที่คุณไม่รู้
หากคุณตอบคำถาม เจ้าหน้าที่อิมฯหรือตำรวจมักจะจดบันทึกสิ่งที่คุณพูดไว้เพื่อใช้ในการไต่สวนขั้นต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติและอาจนำมาเป็นหลักฐานภายหลังได้
เอกสารนี้เป็นเพียงคู่มือแนะนำไม่ใช่ข้อมูลด้านกฎหมายหรือด้านสิทธิของคุณแบบสมบูรณ์ อาจมีกฎหมายด้านอื่นๆที่ตรงกับประเด็นของคุณมากกว่า ดังนั้นหากคุณมีปัญหากับตำรวจ กระทรวงตรวจคนเข้าเมือง (อิมฯ) หรือกรมสรรพากร เราแนะนำให้คุณปรึกษาทนายทันที
การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
( หมายเหตุ เมื่อต้องติดต่อกับตำรวจในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย กรุณาอ่านหัวข้อเกี่ยวกับรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย เพราะสิทธิเหล่านี้ใช้ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียไม่ได้)
คุณมีสิทธิโดยชอบธรรมเมื่อติดต่อกับตำรวจ
ประชาชนทุกคน – ไม่ว่าจะเป็นชาวออสเตรเลียหรือไม่ก็ตาม – จะได้รับการปฏิบัติโดยเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย และได้รับการคุ้มครอง เพื่อรับรองว่าจะไม่มีการปฏิบัติอย่างไม่ยุติธรรมหรือโดยพลการจากรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ https://swsi.moodle.tafensw.edu.au/pluginfile.php/522436/mod_resource/content/2/Australian%20Legal%20System.pdf ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร (พีอาร์) หรือไม่ก็ตาม ผู้มาเยือนออสเตรเลียมีสิทธิเท่าเทียมกับคนอื่นๆ แต่บางกรณีก็อาจมีเงื่อนไขบางอย่างขึ้นอยู่กับวีซ่าของเขา
ออสเตรเลียแบ่งออกเป็นรัฐและเขตการปกครองตนเองรวมแปดแห่ง กฎหมายอาญาบางมาตรารวมทั้งกฎหมายการค้ามนุษย์และการค้าทาสทางเพศนั้นรัฐบาลออสเตรเลียเป็นผู้ควบคุมดูแลและบังคับใช้ทั่วประเทศในทุกรัฐและเขตการปกครองตนเอง ส่วนกฎหมายเฉพาะด้านเกี่ยวกับการทำงานบริการนั้นควบคุมดูแลโดยรัฐบาลแต่ละรัฐและเขตการปกครองตนเอง นี่คือเหตุผลว่าทำไมกฎหมายในแต่ละรัฐและเขตการปกครองตนเองจึงแตกต่างกัน ในบางแห่งงานบริการไม่ผิดกฎหมาย บางแห่งถูกกฎหมายหากมีใบอนุญาต บางแห่งผิดกฎหมาย ในบางรัฐมีการแบ่งเขตที่อนุญาตให้เปิดสถานบริการได้โดยขึ้นอยู่กับเทศบาล การบังคับใช้กฎหมายจะขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ที่ใดในออสเตรเลียและคุณทำงานบริการประเภทใด อย่างไรก็ตามไม่ว่าคุณจะทำงานบริการประเภทไหนหรืออยู่ที่ใด หน่วยงานของรัฐเองก็ยังต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กรของสถานที่เมื่อมาตรวจที่ทำงานของคุณ เอกสารนี้สรุปสาระสำคัญของสิทธิและหน้าที่ของคุณเมื่อมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น
โครงการไมเกรชั่น โปรเจ็ค ของสการ์เล็ท อะไลอันซ ยังมีข้อมูลแบบสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับกฎหมายและวีซ่าสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางมาทำงานบริการที่ออสเตรเลีย หรือที่อื่นๆภายในออสเตรเลีย คุณสามารถหาอ่านได้ทั้งภาษาจีน เกาหลี และไทย จากเว็บไซต์ของเราได้ที่
www.scarletalliance.org.au/thai
www.scarletalliance.org.au/chinese
www.scarletalliance.org.au/korean
คนทำงานบริการมีสิทธิโดยชอบธรรม เมื่อตำรวจหรือเจ้าหน้าที่อิมฯเข้ามาสอบถาม: อย่าตื่นตกใจหากเจ้าหน้าที่พูดกับคุณ คุณควรจะให้ชื่อและที่อยู่และพูดคุยอย่างสุภาพ หากคุณหยาบคายหรือใช้คำไม่สุภาพ ตำรวจอาจจะตั้งข้อหาคุณได้
หากคุณอายุต่ำกว่า 18 ปีควรให้วันเดือนปีเกิดแก่ตำรวจเพราะจะเป็นการดีแก่ตัวคุณ
การให้ชื่อและที่อยู่เท็จแก่ตำรวจถือว่ามีความผิด ทุกอย่างที่คุณพูดจะถูกบันทึกไว้
คุณไม่ควรพูด เขียน หรือเซ็นคำให้การใดๆก่อนเจอทนาย คุณไม่จำเป็นต้องตอบคำถามของตำรวจอย่างละเอียด
ไม่ว่าตำรวจจะสอบถามคุณที่สถานีตำรวจ หรือหยุดคุณเพื่อไต่สวน
ไม่ว่าตำรวจจับหรือไม่ได้จับคุณ
ไม่ว่าเจ้าหน้าที่อิมฯจะอยู่ด้วยหรือไม่
หลังจากที่คุณให้ชื่อและที่อยู่ คุณสามารถพูดว่า “ไอ ดู น๊อต ว้อน ทูเซ เอ็นนิธิง แอท ดิส สเตจ” (ฉันยังไม่อยากให้การอะไรตอนนี้) หรือ “โน คอมเม้นท์” (ไม่ขอออกความเห็น)
คุณยังมีสิทธิถามตำรวจถึง
• ชื่อ เลขที่บัตรประจำตัว (ไอดี) สถานีตำรวจที่สังกัด และยศ
• ทำไมตำรวจถึงต้องการข้อมูลนี้
หากตำรวจจับคุณ เขาต้องแจ้งให้คุณทราบดังนี้
• ว่าคุณถูกจับ
• ทำไมคุณถึงถูกจับ
• ชื่อ และ เลขที่บัตรประจำตัวของตำรวจ
• สถานีตำรวจที่เขาสังกัด
เมื่อตำรวจสอบสวน คุณมีสิทธิขอพบทนายและล่ามหากคุณจำเป็นต้องใช้
หากคุณพยายามต่อสู้ดิ้นรนหรือวิ่งหนีหลังจากถูกจับกุม คุณอาจโดนข้อกล่าวหาขัดขืนการจับกุม หรือหลบหนีการคุมขัง
หากตำรวจขอให้คุณไปสถานีตำรวจเพื่อตอบคำถาม คุณไม่จำเป็นต้องไปยกเว้นว่าคุณยินดีหรือถูกจับกุม คุณถามตำรวจได้ว่า “อาร์ ยู อะเรสติง มี?” (คุณจับฉันหรือ) ตำรวจควรบอกคุณว่าคุณมีสิทธิที่จะไม่ตอบคำถาม โปรดจำไว้ว่าคุณมีสิทธิไม่ตอบคำถามใดๆ และมีสิทธิติดต่อทนาย และหากคุณอายุต่ำกว่า 18 ปีคุณต้องมีผู้ดูแล (เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่เยาวชน ทนาย) อยู่ด้วยเมื่อตำรวจสอบสวนคุณ
หากคุณอายุต่ำกว่า 18 ปี คุณควรติดต่อ ศูนย์กฎหมายสำหรับเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (National Children's and Youth Law Centre) [http://www.ncylc.org.au/welcome2.htm] หรือ ศูนย์ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายฟรีแก่เยาวชนผู้ไม่มีที่พักอาศัยและด้อยโอกาส (Shopfront Youth Legal Centre) [http://www.theshopfront.org/7.html]
เนื่องจากเอกสารนี้ไม่ครอบคลุมถึงปัญหาเฉพาะของเยาวชนอายุต่ำกว่า18 ปี ให้ไปที่เว็บลิงก์ด้านล่างนี้เพื่ออ่านดูคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการกับสถานการณ์และความจำเป็นโดยเฉพาะของคุณ
- http://www.lawstuff.org.au/
- http://www.theshopfront.org/documents/police_powers_and_your_rights_004524341v44.pdf
การตรวจค้น – ตำรวจไม่มีอำนาจโดยอัตโนมัติที่จะตรวจค้นคุณ ยกเว้นว่าเขามีเหตุให้เชื่อได้ว่าคุณมีอาวุธ ยาเสพติด หรือของที่ขโมยมา โดยปกติแล้วตำรวจตรวจค้นคุณได้ก็ต่อเมื่อคุณยินยอมหรือว่ามีหมายค้น
ในกรณีที่ตำรวจต้องการตรวจค้นคนทำงานบริการที่แปลงเพศ*หรือเป็นคนข้ามเพศ คุณขอพบตำรวจที่ทำหน้าที่ประสานงานกับเกย์และเลสเบี้ยน (Gay and Lesbian Liaison Officer หรือ GLLO) เพราะพวกเขาได้รับการอบรมให้ทำงานกับเกย์ เลสเบี้ยน ผู้แปลงเพศ* และชุมชนคนข้ามเพศ คุณมีสิทธิขอให้ตำรวจชายหรือหญิงตรวจค้นก็ได้
รูปถ่าย การพิมพ์ลายนิ้วมือ และดีเอ็นเอ – หากคุณอายุมากกว่า 14 ปี และถูกตั้งข้อหาในคดีอาญา (กล่าวคือ อาชญากรรมร้ายแรงเช่น ค้ายาเสพติด หรือขโมย – ไม่รวมค่าปรับจอดรถในที่ห้ามจอด) ตำรวจสามารถพิมพ์ลายนิ้วมือหรือถ่ายรูปหน้าคุณระหว่างที่ถูกคุมขังได้ก็ต่อเมื่อจำเป็นต้องพิสูจน์ว่าคุณเป็นใคร หากคุณอายุต่ำกว่า 14 ปีตำรวจต้องยื่นขอคำสั่งศาลก่อน
หากคุณไม่ได้ถูกคุมขังแต่ตำรวจต้องการพิมพ์ลายนิ้วมือหรือถ่ายรูปคุณ ตำรวจต้องยื่นขอคำสั่งศาลก่อนไม่ว่าคุณจะอายุเท่าใด
ตำรวจต้องยื่นขอคำสั่งศาลหากต้องการขอตัวอย่างดีเอ็นเอ (จากเส้นผมหรือน้ำลาย) ตำรวจสามารถยื่นขอคำสั่งศาลเพื่อพิมพ์ลายนิ้วมือ ถ่ายรูป หรือตรวจดีเอ็นเอได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุเชื่อได้ว่าคุณกระทำความผิดทางอาญา หรือได้ตั้งข้อกล่าวหาคุณแล้วเท่านั้น หากศาลสั่งให้คุณไปให้ตัวอย่างคุณต้องไปที่สถานีตำรวจตามวันนัด หากคุณไม่ไปตำรวจสามารถใช้ “กำลังตามสมควร” เพื่อเก็บตัวอย่างจากคุณ
ใน ประมวลกฎหมายอาญา ปี ค.ศ. 1914 ของสหพันธรัฐ มาตรา 3C:
การตรวจค้นตัวอย่างรวดเร็ว หมายความว่า
(a) การตรวจค้นตัวโดยใช้มือสัมผัสตามเสื้อผ้าภายนอกร่างกายอย่างรวดเร็ว และ
(b) การตรวจเสื้อผ้าหรือสิ่งของใดๆที่ผู้นั้นยินยอมถอดหรือปลดออกได้ง่าย
การตรวจค้นตัวทั่วไป หมายความถึงการตรวจตัวบุคคลหรือสิ่งของในครอบครองซึ่งอาจรวมถึง
(a) การให้บุคคลนั้นถอดเสื้อคลุมกันหนาว เสื้อชั้นนอกหรือแจ็กเกตและถุงมือ รองเท้าและหมวก และ
(b) การตรวจสิ่งของเหล่านี้
การตรวจค้นตัวแบบให้ถอดเสื้อผ้า หมายความถึงการตรวจตัวบุคคลหรือสิ่งของในครอบครองซึ่งอาจรวมถึง
(a) การให้บุคคลนั้นถอดเสื้อผ้าออกทุกชิ้น และ
(b) การตรวจตามร่างกาย (แต่ไม่รวมถึงช่องรูของร่างกาย) และเสื้อผ้า
Reference ( อ้างอิง):
http://www.austlii.edu.au/au/legis/cth/consol_act/ca191482/s3c.html (Accessed: 22/09/2015)
http://www.comlaw.gov.au/Details/C2011C00233/Download (Accessed: 22/09/2015)
หมายเหตุ พระราชบัญญัติการค้าประเวณีปีค.ศ. 2000 มาตรา 29 ของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย อนุญาตให้ตรวจช่องรูของร่างกายได้โดยแพทย์หรือพยาบาล (ดูรายละเอียดจากตารางข้างล่าง)
พระราชบัญญัติศุลกากรปีค.ศ. 1901 (สหพันธรัฐ) มาตรา 219Q อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรหรือตำรวจควบคุมตัวและตรวจค้นบุคคล ที่เจ้าหน้าที่สงสัยโดยมีเหตุผลสมควรว่าผู้นั้นนำสิ่งของต้องห้ามเข้าประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต
“สิ่งของต้องห้าม” หมายถึง สิ่งของที่พระราชบัญญัติศุลกากรหรือกฎหมายมาตราใดของสหพันธรัฐห้ามนำเข้าหรือส่งออก หรือ สิ่งของที่ได้รับการควบคุมหรือมีเงื่อนไขบังคับด้านการนำเข้าหรือส่งออกตามพระราชบัญญัติศุลกากรหรือกฎหมายมาตราใดของสหพันธรัฐ หรือ
สิ่งของที่ได้รับการควบคุมด้านภาษีศุลกากร
พระราชบัญญัติอนุญาตให้ตรวจค้นตัวอย่างรวดเร็วได้แต่ต้องตรวจโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่เป็นเพศเดียวกันกับบุคคลที่ถูกควบคุมตัว (มาตรา 219M)
Reference (อ้างอิง):
http://www.comlaw.gov.au/Details/C2011C00225/Download (Accessed: 22/09/2015)
ตารางแสดงอำนาจการกำกับดูแลคนทำงานบริการทั่วทั้งออสเตรเลีย
(ดูรายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายในรัฐหรือเขตการปกครองตนเองที่คุณอาศัยอยู่ หรือติดต่อองค์กรคนทำงานบริการในท้องที่ของคุณได้ที่เว็บไซต์ www.scarletalliance.org.au/laws)
เขตอำนาจศาล |
พระราชบัญญัติสำคัญ |
ขอบเขตของอำนาจ |
รัฐนิวเซาท์เวลส์ |
Summary Offences Act 1988 (พรบ.ว่าด้วยคดีความผิดซึ่งพิจารณาโดยรวบรัดได้ปีค.ศ. 1988) |
ตำรวจต้องมีหมายค้นก่อนที่จะเข้าตรวจสถานบริการ เทศบาลเป็นผู้มีหน้าที่หลักในการควบคุมดูแลงานบริการ ตำรวจรัฐนิวเซาท์เวลส์ไม่มีอำนาจตรวจช่องรูของร่างกายหากผู้ที่ถูกคุมขังไม่ยินยอม |
รัฐควีนสแลนด์ |
Prostitution Act 1999 (พรบ.การค้าประเวณีปีค.ศ. 1999) |
ตำรวจจูงใจให้คนทำผิดได้โดยตนเองไม่มีความผิด ตำรวจสามารถล่อให้คนขายบริการติดกับแล้วตั้งข้อหาในฐานะที่ทำงานบริการไม่ถูกกฎหมายได้ด้วย ตำรวจที่มียศสูงกว่าสารวัตรไม่ต้องมีหมายก่อนเข้าค้นสถานบริการที่มีใบอนุญาต ตำรวจสามารถค้นและยึดสิ่งของได้หากได้รับอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรจากสำนักงานผู้ออกใบอนุญาต สำนักงานออกใบอนุญาตการค้าประเวณี |
รัฐเซาท์ออสเตรเลีย |
Summary Offences Act 1953 (พรบ.ว่าด้วยคดีความผิดซึ่งพิจารณาโดยรวบรัดได้ปีค.ศ. 1953) |
อธิบดี นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้รับอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรจากอธิบดีหรือนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ สามารถเข้าตรวจค้นสถานที่ที่ต้องสงสัยว่าเป็นสถานบริการเมื่อไรก็ได้ |
รัฐแทสเมเนีย |
Sex Industry Offences Act 2005 (พรบ.ว่าด้วยคดีความผิดด้านธุรกิจทางเพศปีค.ศ.2005) |
เทศบาลกำหนดสถานที่ให้คนทำงานขายบริการได้ ตำรวจได้รับอำนาจเพิ่มขึ้น กล่าวคือ จับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายศาล เข้าตรวจค้นโดยไม่มีหมายศาล ตำรวจยศสิบตำรวจเอกหรือสูงกว่ามีอำนาจขอข้อมูลด้านการเงิน อธิบดีกรมตำรวจสั่งปิดกิจการได้ |
รัฐวิกตอเรีย |
Sex Work Act 1994 (พรบ .ควบคุมงานบริการค.ศ.1994) |
ตำรวจยศสูงกว่าสารวัตรจะเข้าตรวจสถานบริการเมื่อไรก็ได้ ให้อำนาจเข้าตรวจสถานบริการที่ไม่มีใบอนุญาตโดยไม่มีหมายค้นได้ในบางกรณี สำนักงานออกใบอนุญาตธุรกิจการค้า |
รัฐเวสเทิร์น ออสเตรเลีย |
Police Act 1892 (พรบ.ระเบียบข้าราชการตำรวจปีค.ศ.1892) Criminal Code 1902 (ประมวลกฎหมายอาญาปี ค.ศ.1902) Prostitution Act 2000 (พรบ.การค้าประเวณีปีค.ศ.2000) |
ตำรวจจะได้รับความคุ้มครองในกรณีที่ทำผิดกฎหมายเพื่อให้ผู้ถูกจับกุมถูกตัดสินมีโทษ การล่อให้ติดกับถือว่าถูกกฎหมาย ตำรวจมีอำนาจเข้าตรวจค้นโดยไม่มีหมายศาล เข้าตรวจค้นสถานที่ใดก็ตามที่ “สงสัย” ว่าใช้เป็นที่ขายบริการ ซึ่งรวมทั้งบ้านส่วนตัว ตำรวจมีอำนาจเข้าตรวจค้น ยึด หรือ ควบคุมตัวโดยไม่ต้องมีหมายศาล หรือตั้งข้อหา รวมทั้งมีอำนาจตรวจค้นตัวแบบให้ถอดเสื้อผ้า หรือสั่งให้ตรวจช่องรูของร่างกายแม้ว่าคุณยังไม่ได้ถูกตั้งข้อหาทางอาญา (สงสัยว่ามีเจตนา) อย่างไรก็ตามการตรวจช่องรูของร่างกายต้องทำโดยแพทย์หรือพยาบาล ซึ่งคุณจะถูกควบคุมตัวจนกว่าแพทย์หรือพยาบาลจะมาถึง หรือตำรวจพาคุณไปพบ (พระราชบัญญัติการค้าประเวณี ปีค.ศ.2000 มาตรา 29) คนทำงานบริการอาจถูกควบคุมตัว “นานเท่าที่จำเป็นโดยสมเหตุสมผล” นอกจากนี้ตำรวจสามารถใช้ ”กำลังอย่างใดก็ตามที่จำเป็น” เพื่อเข้าตรวจค้น คนทำงานบริการไม่มีสิทธิไม่ตอบคำถาม หากปฏิเสธไม่ตอบคำถามหรือไม่แสดงเอกสารอาจถูกจำคุกสองปี ตำรวจยังสามารถออกหมายสั่งให้ออกนอกบริเวณ (Move-on Notices) และคำสั่งห้ามกระทำการ(Restraining Orders) หมายสั่งให้ออกนอกบริเวณ (ออกให้พร้อมกับแผนที่ของเขตในตัวเมืองสามสี่เขต) ห้ามไม่ให้ผู้ต้องสงสัยว่าทำงานบริการเข้ามาบริเวณนั้นได้นานถึง 24ชั่วโมงและมีผลบังคับใช้ทันที |
เขตการปกครองตนเองนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี |
Prostitution Regulation Act (พรบ.ควบคุมการค้าประเวณี) |
ตำรวจเข้าค้นสถานที่ต้องสงสัยว่าเป็นสถานบริการหรือเอเย่นต์เอสคอร์ทเมื่อใดก็ได้ โดยการขออำนาจจากตำรวจยศสูงกว่าสิบตำรวจเอก คณะกรรมการออกใบอนุญาตเอเย่นต์เอสคอร์ท |
เขตการปกครองตนเองออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี |
Prostitution Control Act 1992 (พรบ.ควบคุมการค้าประเวณีปีค.ศ.1992) Work Safety Act 2008 (พรบ.ว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานปีค.ศ.2008) Human Rights Act 2004 (พรบ.ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนปีค.ศ. 2004) Crimes Act 1900 (พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคดีอาญาปี ค.ศ.1900) |
ตำรวจเข้าค้นสถานที่ได้ต่อเมื่อมีเหตุที่เชื่อได้ว่ามีการทำความผิดเกี่ยวข้องกับการค้าบริการโดยผู้เยาว์ ผู้ตรวจสอบจากองค์กร WorkSafe ACT มีอำนาจกว้างขวางรวมทั้งอำนาจเข้าตรวจสถานที่ทำงาน (เช่นสถานบริการ) เมื่อไรก็ได้ เพื่อตรวจสภาพการทำงานของลูกจ้าง และเพื่อให้แน่ใจว่าสถานที่ทำงานได้มาตรฐานด้านสุขภาพและความปลอดภัย (มาตรา74; มาตรา78) ดูรายละเอียดบทสรุปเรื่องพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนปีค.ศ. 2004 และ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคดีอาญาปี ค.ศ.1900 ในหัวข้อเกี่ยวกับเขตการปกครองตนเองออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรีข้างล่างนี้ |
สหพันธรัฐ |
Criminal Code Act 1995 (ประมวลกฎหมายอาญาปี ค.ศ.1995) Crimes Act 1914 (พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคดีอาญาปี ค.ศ. 1914) |
ประมวลกฎหมายอาญามีบทเกี่ยวกับความผิดด้าน “การมีทาสและทาสทางเพศ” (หมวด 270) และ “การค้ามนุษย์และแรงงานขัดหนี้” (หมวด 271) ตำรวจแห่งสหพันธรัฐอาจขอหมายค้นสถานที่ หากมีรายงานว่าสถานที่เหล่านั้นมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการมีทาส ทาสทางเพศ หรือการค้ามนุษย์ (หมวด 270 และ 271ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3E และ 3Fพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคดีอาญา ) หมายศาลอาจอนุญาตให้ทำการตรวจค้นตัวทั่วไปหรืออย่างรวดเร็ว กับผู้ที่อยู่ในสถานที่นั้น หรืออาคารข้างเคียง บุคคลอาจต้องให้ชื่อและที่อยู่แก่ตำรวจ หากตำรวจเชื่อว่าบุคคลนั้นสามารถช่วยตำรวจในการสืบสวนคดีความผิดอาญาอุกฉกรรจ์ (คดีความผิดตามกฎหมายสหพันธรัฐ ซึ่งถูกจำคุกได้มากกว่า 12 เดือน) (มาตรา3V พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคดีอาญา) |
Reference (อ้างอิง):
http://www.aifs.gov.au/acssa/pubs/issue/i8.html#legal (Accessed: 22/09/2015)
ความสำคัญของการจดบันทึกขณะถูกสอบสวนหรือหลังจากถูกสอบสวนทันที |
การจดบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะที่ถูกตำรวจสอบสวนหรือหลังจากถูกสอบสวนทันทีนั้นมีความสำคัญมาก คุณจะเป็นฝ่ายได้เปรียบอย่างยิ่ง (ที่ศาล) หากคุณจดบันทึกไว้ |
ตำรวจรัฐนิวเซาท์เวลส์
คุณไม่จำเป็นต้องอนุญาตให้ตำรวจเข้าตรวจค้น ยกเว้นว่าตำรวจมีหมายค้น หากตำรวจมีหมายค้นคุณไม่ควรต่อต้านหรือกีดขวาง สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก คือคุณต้องบันทึกรายละเอียดของหมายค้น รวมทั้งวันที่ที่ได้รับอนุญาตค้น สถานที่ที่ได้รับอนุญาตให้ค้น และรายละเอียดสำคัญอื่นๆ รวมทั้งหมายเลขแฟ้ม ฯลฯ คุณสามารถตรวจได้ว่าหมายค้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และหากพบว่าหมายค้นไม่ถูกต้อง คุณสามารถคัดค้านหลักฐานที่ได้มาจากหมายค้นนั้น คุณควรขอดูบัตรประจำตัวของตำรวจ และจดชื่อและหมายเลขประจำตัวไว้
Reference (อ้างอิง):
NSW - AussieLegal https://www.aussielegal.com.au/articles/960/NSW/Criminal_Law/Police_Searches (accessed 24/09/2015)
คุณควรทำอย่างไรหากมีการละเมิดสิทธิของคุณ
การร้องเรียน
คุณร้องเรียนเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐนิวเซาท์เวลส์โดยติดต่อ
- ทางโทรศัพท์: แผนก Customer Assistance Unit ที่หมายเลข 1800 622 571
- ด้วยตนเอง: ที่สถานีตำรวจในท้องที่เพื่อพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ยื่นจดหมายร้องเรียนอย่างเป็นทางการ คุณต้องทำโดยการกรอกแบบฟอร์ม NSW Police Force Complaint Form (ที่สถานีตำรวจในท้องที่ หรือดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ลิงก์ http://www.police.nsw.gov.au/__data/assets/pdf_file/0007/104974/p964_nswpf_complaint_form.pdf) และ
- ยื่นด้วยตนเอง: ที่สถานีตำรวจในท้องที่ของคุณ
- ทางไปรษณีย์: ที่ Customer Assistance Unit, PO Box 3427, Tuggerah NSW 2259 หรือยื่นทางออนไลน์
คุณสามารถร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐนิวเซาท์เวลส์ได้ที่
The NSW Ombudsman (เจ้าหน้าที่เฉพาะกิจรัฐนิวเซาท์เวลส์มีหน้าที่รับฟังการวิจารณ์และข้อคิดเห็นของประชาชน)
- ด้วยตนเอง: 580 George Street, Sydney 2000
- ทางโทรศัพท์: (02) 9286 1000
- หมายเลขโทรฟรี: 1800 451 524
หรือ The Police Integrity Commission (คณะกรรมาธิการตรวจสอบจริยธรรมเจ้าหน้าที่ตำรวจ)
- ทางไปรษณีย์: GPO Box 3880, Sydney NSW 2001
- ทางแฟกซ์: (02) 9321 6799
- ทางโทรศัพท์: (02) 9321 670
- หมายเลขโทรฟรี (หากโทรภายในประเทศออสเตรเลีย): 1800 657 079
- ทางออนไลน์: http://www.pic.nsw.gov.au/ReportMisconduct.aspx
คำร้องเรียนที่องค์กรเหล่านี้ได้รับโดยส่วนมากแล้วจะได้รับการส่งต่อไปยังกรมตำรวจรัฐนิวเซาท์เวลส์เพื่อแก้ไขปัญหา
Reference (อ้างอิง):
NEW SOUTH WALES POLICE FORCE; New South Wales government; https://www.police.nsw.gov.au/services/complain_about_a_police_officer (accessed: 22/09/2015)
สำนักงานออกใบอนุญาตการค้าประเวณี (The Prostitution Licensing Authority) เป็นผู้ออกใบอนุญาตสถานบริการ เจ้าหน้าที่กำกับดูแลกิจการ เรียกว่า คัมไพลอันส ออฟฟิเซอร์ส – พวกเขาไม่ใช่ตำรวจ เจ้าหน้าที่คัมไพลอันส ออฟฟิเซอร์ส มีอำนาจตรวจสถานบริการเมื่อไรก็ได้ (มาตรา 26 และ 52 ของพระราชบัญญัติการค้าประเวณีปีค.ศ. 1999 (รัฐควีนสแลนด์)) และตรวจการดำเนินกิจการของสถานบริการ (มาตรา 101(c))
ตามข้อกำหนดของ พระราชบัญญัติการค้าประเวณีปีค.ศ. 1999 (รัฐควีนสแลนด์)
• หากตำรวจเข้าตรวจสถานบริการภายใต้มาตรา 59 ของพระราชบัญญัติ โดยได้รับอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรจากสำนักงานออกใบอนุญาตการค้าประเวณี ตำรวจสามารถขอให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้จัดการร้านปฏิบัติตามมาตรา 60ข้อ(c) (แสดงเอกสาร) หรือ ข้อ(d) (ช่วยเหลือตำรวจ) - มาตรา 84
• หากตำรวจมีเหตุเชื่อได้ว่าบุคคลในสถานบริการที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้เยาว์ ตำรวจอาจขอดูเอกสารแสดงอายุ - มาตรา 85
• ตำรวจหรือสำนักงานออกใบอนุญาตการค้าประเวณีอาจขอให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้จัดการร้านบอกชื่อและที่อยู่ - มาตรา 86
• ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาต หรือใบประกาศแสดงเลขที่ใบอนุญาต ที่อยู่ของสถานบริการและวันที่ใบอนุญาตหมดอายุให้เห็นได้อย่างชัดเจนที่ทางเข้าร้าน - มาตรา 87
ตำรวจที่มียศสูงกว่าสารวัตรเข้าตรวจหรือให้อำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ตำรวจคนอื่นเข้าตรวจสถานบริการที่มีใบอนุญาตได้ - มาตรา 59 รายละเอียดเกี่ยวกับการเข้าตรวจสถานบริการที่มีใบอนุญาตของตำรวจต้องถูกส่งไปยังสำนักงานออกใบอนุญาตการค้าประเวณี - มาตรา 61 ภายใต้ พระราชบัญญัติอำนาจและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจปีค.ศ. 2000 (Police Powers and Responsibilities Act 2000) คุณมีสิทธิขอดูบัตรประจำตัวหากตำรวจไม่ได้แต่งเครื่องแบบ หากตำรวจแต่งเครื่องแบบเขาเพียงแต่บอกชื่อ ยศ และสถานีตำรวจที่สังกัด
Reference (อ้างอิง):
Sex Industry Laws- Queensland; 16 April 2015 https://www.scarletalliance.org.au/laws/qld/ (Accessed: 22/9/2015)
Prostitution Act 1999,1 July 2014 http://www.legislation.qld.gov.au/LEGISLTN/CURRENT/P/ProstitutA99.pdf (Accessed: 22/9/2015)
พระราชบัญญัติการค้าประเวณีปีค.ศ. 1999 หมวด 3- อำนาจการเข้าตรวจค้น – ลิงก์
Reference (อ้างอิง):
QUEENSLAND CONSOLIDATED ACTS; Australasian Legal Information Institute; 1 July 2014 http://www.austlii.edu.au/au/legis/qld/consol_act/pa1999205/ (Accessed: 22/09/2015)
การร้องเรียน
คุณร้องเรียนเกี่ยวกับกรมตำรวจรัฐควีนสแลนด์ Queensland Police Service
- Online Complaint Form: https://www.police.qld.gov.au/apps/reports/complaint/
- Telephone Policelink on 131 444;
- Your local police station in person or via phone; or by postal mail: Queensland Police Service
Attention: State Coordinator, Complaint Management
GPO Box 1440 Brisbane, QLD 4001
หากเป็นเรื่องร้ายแรงคุณร้องเรียนไปยังคณะกรรมาธิการสอบสวนความผิดทางอาญาและการประพฤติมิชอบ Crime and Corruption Commission (CCC) ซึ่งมีอำนาจกว้างขวางสามารถสอบสวนกรณีที่ร้ายแรงมากที่สุด โดยติดต่อทางโทรศัพท์ แฟกซ์ อีเมล จดหมาย ด้วยตัวคุณเอง (ต้องนัดหมาย) หรือ กรอกแบบฟอร์มร้องเรียนซึ่งหาได้จากเว็บไซต์
- ทางโทรศัพท์: (07) 3360 6060,
- ทางไปรษณีย์: GPO Box 3123, Brisbane, Qld 4001
- ด้วยตนเอง: Level 2, North Tower Green Square 515 St Pauls Terrace Fortitude Valley (คุณต้องนัดหมายก่อน)
- เว็บไซต์: http://www.ccc.qld.gov.au/corruption/report-corruption.
Reference (อ้างอิง):
Compliments and Complaints, Queensland Police, 11 September 2014 https://www.police.qld.gov.au/online/ComplimentsandComplaints.htm (Accessed: 22/09/2015)
ตำรวจรัฐเซาท์ออสเตรเลีย
พระราชบัญญัติว่าด้วยคดีความผิดซึ่งพิจารณาโดยรวบรัดได้ปีค.ศ. 1953
อำนาจของตำรวจในการเข้าตรวจสถานที่ต้องสงสัยว่าเป็นสถานบริการ: อธิบดีกรมตำรวจ หรือนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้รับอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรจากอธิบดี หรือนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ สามารถเข้าตรวจค้นสถานที่เมื่อไรก็ได้ หากมีเหตุผลสมควรสงสัยว่าเป็นสถานบริการ มาตรา 32
Reference (อ้างอิง):
http://www.legislation.sa.gov.au/LZ/C/A/SUMMARY%20OFFENCES%20ACT%201953.aspx
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ (การร้องเรียนและการพิจารณาความผิดทางวินัย) ปีค.ศ.1985 – มาตรา 17 {POLICE (COMPLAINTS AND DISCIPLINARY PROCEEDINGS) ACT 1985 – SECT 17}
มาตรา 17 – สิทธิของบุคคลที่ถูกคุมขังในการร้องเรียนต่อทางราชการ
(1) เมื่อบุคคลที่ถูกคุมขังต้องการร้องเรียนต่อทางราชการถึงการปฏิบัติของตำรวจ บุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตัวบุคคลนั้นต้องกระทำดังนี้คือ
(a) เมื่อบุคคลที่ถูกคุมขังขอร้องเรียน ให้นำสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้บุคคลนั้นเขียนคำร้องเรียน และใส่ซองปิดผนึก และ
(b) เมื่อได้รับซองปิดผนึกจากบุคคลนั้นเพื่อส่งไปยังหน่วยราชการ —
(i) ต้องแน่ใจว่าได้จ่าหน้าซองปิดผนึกนั้นอย่างชัดเจนและทำเครื่องหมายว่าเป็นความลับ และ
(ii) นำซองปิดผนึกส่งไปยังหน่วยราชการโดยไม่ให้ล่าช้า
(2) การขอร้องเรียนตามข้อ (1) นั้น —
(a) ต้องขอต่อเจ้าหน้าที่คนอื่นที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ที่ถูกร้องเรียน และ
(b) ต้องกระทำโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ (แต่ต้องไม่เป็นการยับยั้งการดำเนินการหรือขั้นตอนที่ถูกต้องตามกฎหมาย)
(3) หากบุคคลนั้นได้ร้องเรียนตามข้อย่อย (1) โดยตรงต่อเจ้าหน้าที่ที่การปฏิบัติหน้าที่เป็นสาเหตุของการร้องเรียน เจ้าหน้าที่ผู้นั้นต้องแนะนำให้ร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่คนอื่นที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการคุมขังโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
(4) เมื่อรับซองปิดผนึกเพื่อนำส่งไปยังหน่วยราชการตามข้อย่อย (1) ผู้ที่ไม่มีอำนาจหน้าที่หรือไม่ได้รับมอบอำนาจ เปิดซองหรือตรวจดูรายละเอียดในซองไม่ได้
ปรับสูงสุด: 2,500 เหรียญ
(5) หากผู้กระทำผิดตามข้อย่อย (4) แต่พิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นเป็นไปโดยไม่เจตนา ให้ถือว่าเป็นข้อแก้ตัวในคดีได้
Reference (อ้างอิง):
http://www.legislation.sa.gov.au/LZ/C/A/POLICE%20(COMPLAINTS%20AND%20DISCIPLINARY%20PROCEEDINGS)%20ACT%201985.aspx
South Australian Current Acts; Australasian Legal Information Institute; 15 September 2015 http://www.austlii.edu.au/au/legis/sa/consol_act/soa1953189/ (Accessed: 22/09/2015) And http://www.austlii.edu.au/au/legis/sa/consol_act/padpa1985434/ (Accessed: 22/09/2015)
การร้องเรียน
บุคคลใดก็ตามสามารถร้องเรียนไปยังสำนักงานรับคำร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ (Office of the Police Ombudsman) หรือร้องเรียนกับตำรวจ (ยกเว้นกับตำรวจที่ถูกร้องเรียน) คุณร้องเรียนแทนคนอื่นได้ด้วย คำร้องเรียนควรเป็นลายลักษณ์อักษร
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม: http://www.policeombudsman.sa.gov.au/wp-content/uploads/2015/04/Office-of-the-Police_Ombudman_complaint-form.pdf
- ด้วยตนเอง: Level 9, East Wing 55 Currie Street, Adelaide SA 5001
- ทางไปรษณีย์: Office of the Police Ombudsman, GPO Box 464, ADELAIDE SA 5001
- ทางโทรศัพท์: (08) 8226 8677
- ทางแฟกซ์: 08) 8124 4557
- ทางอีเมล: policeombudsman@agd.sa.gov.au
หากคุณต้องการให้ช่วยเขียนคำร้องเรียนหรือคุณต้องการปรึกษาเรื่องการร้องเรียน คุณติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่สำนักงานรับคำร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ
Reference (อ้างอิง):
I want to make a complant; Office of the Police Ombudsman http://www.policeombudsman.sa.gov.au/i-want-to-make-a-complaint/ (Accessed: 22/09/2015)
ตำรวจรัฐแทสเมเนีย
พระราชบัญญัติว่าด้วยคดีความผิดด้านธุรกิจทางเพศปีค.ศ.2005
ภาค 3 – อำนาจของตำรวจ
ตำรวจรัฐแทสเมเนียมีอำนาจจับกุมคุณโดยไม่ต้องมีหมายหากเขาเชื่อว่าคุณทำความผิดเกี่ยวกับการบริการ ชักชวนหาลูกค้า หรือ ขัดขืน หรือ ขัดขวางตำรวจ (มาตรา13) ซึ่งหมายความว่าตำรวจจับกุมคุณได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานใดๆ ตำรวจอาจขอชื่อ ที่อยู่ และวันเดือนปีเกิด หากคุณไม่ให้ข้อมูลนี้ถือว่าทำผิดกฎหมาย (มาตรา13(3))
ตำรวจยศสิบตำรวจเอกหรือสูงกว่าเข้าตรวจค้นโดยไม่มีหมายศาลได้หากเชื่อว่าสถานที่นั้นๆอาจจะมีการขายบริการ (มาตรา15) ตำรวจเข้าตรวจค้นโดยไม่มีหมายศาลได้หากเขาเชื่อว่าจะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำความผิดทางอาญา (มาตรา 15(3)-(5)) ตำรวจตรวจค้น ถ่ายรูป และเก็บหลักฐานไปได้โดยไม่ต้องมีหมาย (มาตรา15(2)) ตำรวจอาจใช้กำลังเข้าตรวจค้นได้ (มาตรา 15(3))
มาตรา 18 อำนาจของตำรวจยศสิบตำรวจเอกหรือสูงกว่าในการขอข้อมูลด้านการเงิน
ตำรวจยศสิบตำรวจเอกหรือสูงกว่ามีอำนาจขอให้คุณแสดงที่มาของรายได้ หรือแสดงบันทึกรายรับรายจ่าย(มาตรา 18) หากคุณไม่แสดงข้อมูลนี้ หรือแสดงข้อมูลเท็จ ถือว่ามีความผิด (มาตรา 18(2)) ค่าปรับ: ไม่เกิน 10 หน่วยค่าปรับ
ภายใต้กฎหมายมาตรานี้ถือว่าตำรวจไม่ต้องรับผิดชอบหากได้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตใจ (มาตรา19)
Reference (อ้างอิง):
http://www.austlii.edu.au/au/legis/tas/consol_act/sioa2005253/
การร้องเรียน
คุณร้องเรียนไปยังกรมตำรวจรัฐแทสเมเนียได้โดย
- ด้วยตนเอง: ที่สถานีตำรวจในท้องที่ของคุณ
- ทางโทรศัพท์: Police Assistance Line ที่หมายเลข131 444
- ทางไปรษณีย์: Commissioner Tasmania Police, GPO Box 308
HOBART TAS 7001
- ทางอีเมล: Tasmania.police@police.tas.gov.au
หรือร้องเรียนไปที่ Office of the Ombudsman (เจ้าหน้าที่เฉพาะกิจมีหน้าที่รับฟังการวิจารณ์และข้อคิดเห็นของประชาชน)
- ด้วยตนเอง: Ground Floor, 99 Bathurst Street, Hobart TAS 7000,
- ทางไปรษณีย์: GPO Box 960, Hobart TAS 7001
- ทางโทรศัพท์: 1800 001 170 (หมายเลขโทรฟรีทั่วประเทศ)
- ทางออนไลน์: https://secure.justice.tas.gov.au/ombudsman_resolve_update/ombudsman_complaint_form
- ทางอีเมล: ombudsman@ombudsman.tas.gov.au
Reference (อ้างอิง):
Tasmania Police; 12 May 2015 http://www.police.tas.gov.au/about-us/service-charter// (Accessed: 22/09/2015)
The ombudsman Tasmania; 5 February 2014 http://www.ombudsman.tas.gov.au/making_a_complaint/how_to_make_a_complaint (Accessed: 22/09/2015)
ตำรวจรัฐวิกตอเรีย
หน่วยงานดูแลด้านอาชญากรรมทางเพศ (Major Sex Crimes Desk) กรมตำรวจรัฐวิกตอเรียมีหน้าที่หลักคือการกำกับดูแลให้ปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติงานบริการปีค.ศ.1994 (Sex Work Act 1994)
ตำรวจเข้าตรวจสถานบริการหรือเอเย่นต์เอสคอร์ทที่มีใบอนุญาตหรือที่ได้รับการยกเว้นในรัฐวิกตอเรียโดยไม่ต้องมีหมาย หากตำรวจที่เข้าตรวจคนใดคนหนึ่งมียศสารวัตรหรือสูงกว่า (มาตรา 62 พระราชบัญญัติงานบริการ)
เมื่อตำรวจเข้าตรวจ ผู้มีใบอนุญาตหรือผู้จัดการร้านต้องให้ชื่อและที่อยู่หากตำรวจต้องการ (มาตรา 58 พระราชบัญญัติงานบริการ) หากตำรวจเชื่อว่าผู้ใดในสถานบริการอายุต่ำกว่า 18 ปีตำรวจสามารถขอดูหลักฐานแสดงอายุของผู้นั้นได้ (มาตรา 59 พระราชบัญญัติงานบริการ)
ตำรวจรัฐวิกตอเรียไม่มีอำนาจโดยอัตโนมัติที่จะตรวจค้นใครก็ตามที่ไม่ได้ถูกจับกุม อย่างไรก็ตามตำรวจตรวจค้นได้หาก “มีเหตุที่เชื่อได้” ว่าบุคคลนั้นซ่อนยาเสพติด อาวุธ หรือของที่ขโมยมา ไม่ว่าคุณจะถูกจับกุมหรือไม่ ตำรวจค้นคุณได้หากเขาต้องการหลักฐาน หรือเชื่อว่าคุณมีอาวุธในครอบครอง ตำรวจมีสิทธิตรวจค้นคุณได้หากมีหมายศาล (มาตรา 10 พระราชบัญญัติควบคุมอาวุธ ปีค.ศ. 1990 (Control of Weapons Act 1990))
ตำรวจต้องแจ้งให้คุณทราบเหตุผลที่คุณโดนตรวจค้น และการตรวจค้นต้องมีการลงบันทึกตามระเบียบขั้นตอนของตำรวจ (มาตรา 10A พระราชบัญญัติควบคุมอาวุธปี ค.ศ. 1990)
คุณควรไปพบทนาย ศูนย์ให้คำแนะนำด้านกฎหมายของชุมชน หรือองค์กรให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายรัฐวิกตอเรีย (Victoria Legal Aid) เพื่อขอคำแนะนำโดยเฉพาะกรณีที่คุณโดนข้อหาการกระทำผิดกฎหมาย หากคุณได้รับบาดเจ็บคุณควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุดและถ่ายรูปไว้
Reference (อ้างอิง):
LIP: Legal Issues for Professionals; หน้า 15-16 May 2009
http://www.communitylaw.org.au/stkilda/cb_pages/images/LIP%20Reprint%202009%20final%20version.pdf (Accessed 22/09/2015)
พระราชบัญญัติงานบริการปีค.ศ. 1994 (Sex Work Act 1994)
ตำรวจยศสารวัตรหรือสูงกว่าเข้าตรวจสถานบริการที่มีใบอนุญาต หรือผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นคนทำงานบริการส่วนตัวเมื่อไรก็ได้ (มาตรา 62.1) หากคุณไม่ให้เข้าตรวจตำรวจสามารถใช้กำลังได้ (มาตรา 62.2) การขัดขวางไม่ให้ตำรวจเข้าตรวจถือว่าเป็นความผิดทางอาญา (ถูกจำคุกได้ไม่เกินหนึ่งปี) (มาตรา 62. 3) หลังจากที่เข้าตรวจค้นตำรวจต้องรายงานไปยังผู้อำนวยการเกี่ยวกับกิจการผู้บริโภค (Director of Consumer Affairs) และ สำนักงานออกใบอนุญาตธุรกิจการค้า (Business Licensing Authority) (มาตรา 62.4) หากคุณไม่ได้ใช้บ้านเป็นสถานบริการ ตำรวจจะเข้าตรวจค้นไม่ได้หากคุณไม่ยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร (มาตรา 62.5)
ตำรวจขอหมายค้นได้หากเชื่อว่าสถานที่นั้นเป็นสถานบริการ (มาตรา 63)
ตำรวจยศสารวัตรหรือสูงกว่าเข้าตรวจค้นสถานที่ได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น หากเชื่อว่าถ้าต้องใช้เวลารอหมายค้นจะทำให้เสียโอกาสที่จะพบหลักฐานการกระทำความผิดอาญา (มาตรา 64) ตำรวจต้องบันทึกเหตุผลที่จำเป็นต้องเข้าตรวจค้นสถานที่ และรายชื่อของตำรวจทุกคนที่อยู่ในเหตุการณ์ ก่อน ที่จะเข้าตรวจค้น (มาตรา 64(2)-(3)) ตำรวจใช้กำลังเข้าตรวจค้นได้ (มาตรา 64(4) )
ตำรวจต้องไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใดที่ได้รับเมื่อปฏิบัติหน้าที่ยกเว้นว่าเป็นกรณีอาญา (มาตรา 61Z)
เว็บไซต์ www.legislation.vic.gov.au และคลิกที่ “Victorian Law Today”
Reference (อ้างอิง):
VICTORIAN CONSOLIDATED LEGISLATION; Australasian Legal Information Institute; 21 September 2015
http://www.austlii.edu.au/au/legis/vic/consol_act/swa1994129/ (Accessed: 22/09/2015)
การร้องเรียน
คุณควรร้องเรียนโดยเร็วที่สุดหากพบว่าตำรวจรัฐวิกตอเรียปฏิบัติหน้าที่ผิดวินัยหรือทุจริต
- ทางไปรษณีย์: PO Box 913, Melbourne VIC 3001
- ทางโทรศัพท์: 1300 363 101
- ทางออนไลน์: http://www.police.vic.gov.au/content.asp?Document_ID=11933
- ทางอีเมล: PSC-POLICECONDUCTUNITCOMPLAINTSANDCOMPLIMENTS@police.vic.gov.au
คุณร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตหรือการประพฤติมิชอบอย่างร้ายแรง ได้ที่ Independent Broad-based Anti-corruption Commission
- ทางโทรศัพท์: 1300 735 135
- ทางออนไลน์: http://www.police.vic.gov.au/content.asp?Document_ID=11933
- Print the form at http://www.ibac.vic.gov.au/docs/default-source/complaint-forms/ibac-complaint-form-master-september-2015.pdf?sfvrsn=2 และ
- ส่งทางอีเมลที่: info@ibac.vic.gov.au
- ส่งทางไปรษณีย์ที่: GPO Box 24234, Melbourne VIC 3001
กรมตำรวจรัฐวิกตอเรียมีตำรวจที่ทำหน้าที่ประสานงานกับเกย์และเลสเบี้ยน (Gay and Lesbian Liaison Officer หรือ GLLO) ซึ่งเป็นผู้ให้คำแนะนำ ความช่วยเหลือและบริการส่งต่อ หน่วยงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความไว้วางใจระหว่างตำรวจและชุมชนเกย์ เลสเบี้ยน ผู้แปลงเพศ และคนข้ามเพศ หากคุณกังวลเกี่ยวกับการติดต่อกับตำรวจท้องที่ หรือไม่พอใจกับการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ คุณติดต่อหน่วยงานนี้ได้หน่วยงาน Gay and Lesbian Advisory Unit
- โทรศัพท์: (03) 9247 6944
- อีเมล: melbourne.gllo@police.vic.gov.au
คุณค้นหารายชื่อตำรวจที่ทำหน้าที่ประสานงานกับเกย์และเลสเบี้ยนของกรมตำรวจรัฐวิกตอเรียในท้องที่ของคุณได้ที่http://www.police.vic.gov.au/content.asp?a=internetBridgingPage&Media_ID=96743
Reference (อ้างอิง):
VICTORIA POLICE - COMPLIMENTS AND COMPLAINTS; 11 SEPTEMBER 2014 HTTP://WWW.POLICE.VIC.GOV.AU/CONTENT.ASP?DOCUMENT_ID=11933 (ACCESSED: 24/09/2015)
COMPLAINTS ABOUT POLICE | VICTORIA LEGAL AID; 21 JULY 2014. HTTPS://WWW.LEGALAID.VIC.GOV.AU/FIND-LEGAL-ANSWERS/POLICE-POWERS-AND-YOUR-RIGHTS/COMPLAINTS-ABOUT-POLICET (ACCESSED: 24/09/2015)
ตำรวจรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย
พระราชบัญญัติการค้าประเวณีปีค.ศ.2000
มาตรา 23 อำนาจในการหาข้อมูล
ในปัจจุบันตำรวจรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียมีอำนาจต่างๆที่สามารถนำมาใช้สืบสวนและบังคับใช้ในคดีความผิดที่เกี่ยวข้องกับการค้าบริการ
ภายใต้ พระราชบัญญัติการสืบสวนอาชญากรรมปีค.ศ.2006 ได้รวมอำนาจต่างๆของตำรวจไว้ด้วยกัน รวมทั้งอำนาจในการขอหมายค้นเพื่อเข้าตรวจสถานที่ (มาตรา 41-45) อำนาจรักษาความสงบและความเป็นระเบียบในที่สาธารณะ (มาตรา 34) หรือ อำนาจเข้าตรวจสถานที่หากตำรวจมีความสงสัยอย่างสมเหตุสมผลว่ามีเหตุการณ์ความรุนแรงหรือฝ่าฝืนก่อกวนความสงบเกิดขึ้นหรือกำลังเกิดขึ้น (มาตรา 34) ภายใต้พระราชบัญญัตินี้ตำรวจมีสิทธิค้นตัวทั่วไป ค้นตัวแบบรวดเร็ว และแบบให้ถอดเสื้อผ้าออกโดยไม่ต้องมีหมาย (มาตรา 63-65)
ในด้านที่เกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรม ตำรวจอาจยื่นขออำนาจพิเศษจากคณะกรรมาธิการสอบสวนความผิดทางอาญาและการทุจริต (Corruption and Crime Commission) ภายใต้ภาค 4 ของ พระราชบัญญัติคณะกรรมาธิการสอบสวนความผิดทางอาญาและการทุจริตปีค.ศ.2003 (Corruption and Crime Commission Act 2003) ให้อำนาจเพิ่มเติมเพื่อตรวจ ยึด ค้นตัว และวางแผนปฏิบัติการที่รัดกุม ในกรณีที่มีการกระทำความผิดร้ายแรง ความผิดเหล่านี้รวมถึง ความผิดที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงินและทรัพย์สิน ( ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 563A) ดังนั้นหากตำรวจรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียกังวลว่าสถานบริการเป็นที่ฟอกเงินขององค์กรอาชญากรรม ตำรวจสามารถขออำนาจพิเศษภายใต้ พระราชบัญญัติคณะกรรมาธิการสอบสวนความผิดทางอาญาและการทุจริตได้
พระราชบัญญัติการริบทรัพย์สินในเรื่องทางอาญาปีค.ศ.2000 (Criminal Property Confiscation Act 2000) ให้อำนาจเพิ่มเติมในการสืบสวนและริบทรัพย์สินที่มาจากความร่ำรวยผิดปกติหรือจากการประกอบอาชญากรรม
ภายใต้ พระราชบัญญัติการค้าประเวณีปีค.ศ.2000 ตำรวจรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียยังมีอำนาจพิเศษอื่นๆอีกที่บังคับให้บุคคลแสดงเอกสารหรือสิ่งของ ให้ข้อมูลหรือตอบคำถามตำรวจ (มาตรา 23) คนทำงานบริการไม่มีสิทธิไม่ตอบคำถาม หากปฏิเสธไม่ตอบคำถามหรือไม่แสดงเอกสารอาจถูกจำคุกสองปี
ตำรวจมีอำนาจเข้าตรวจค้น ยึด หรือ ควบคุมตัวโดยไม่ต้องมีหมายศาล หรือตั้งข้อหา รวมทั้งมีอำนาจตรวจค้นตัวแบบให้ถอดเสื้อผ้า หรือสั่งให้ตรวจช่องรูของร่างกายถึงแม้ว่าคุณยังไม่ได้ถูกตั้งข้อหาทางอาญา (หากสงสัยว่ามีเจตนา) อย่างไรก็ตามการตรวจช่องรูของร่างกายต้องทำโดยแพทย์หรือพยาบาล ซึ่งคุณจะถูกควบคุมตัวจนกว่าแพทย์หรือพยาบาลจะมาถึง หรือตำรวจพาคุณไปพบ (พระราชบัญญัติการค้าประเวณี ปีค.ศ.2000 มาตรา 29) คนทำงานบริการอาจถูกควบคุมตัว “นานเท่าที่จำเป็นอย่างสมเหตุสมผล” นอกจากนี้ตำรวจสามารถใช้ “กำลังอย่างใดก็ตามที่จำเป็น” เพื่อเข้าตรวจค้น
ตำรวจยังสามารถออกหมายสั่งให้ “ออกนอกบริเวณ” (move on) หากตำรวจสงสัยว่าบุคคลนั้นจะกระทำความผิดหรือเจตนาจะกระทำความผิด (มาตรา 24)
ตำรวจมีอำนาจเข้าตรวจค้นสถานที่เมื่อไรก็ได้โดยไม่มีหมายศาลหากเชื่อว่าใช้เป็นที่ขายบริการ หรือมีสมุดบันทึกเกี่ยวกับการค้าบริการในสถานที่นั้น (มาตรา 26) ตำรวจสามารถใช้กำลังเข้าค้นได้ (มาตรา 26(4))
ตำรวจสามารถขอหมายได้นาน 30วันเพื่อเข้าตรวจหาหลักฐานในสถานบริการ (มาตรา 27)
ตำรวจสายสืบ
ตำรวจสามารถแกล้งทำเป็นลูกค้าหรือคนทำงานบริการเพื่อหาหลักฐานเกี่ยวกับบุคคลอื่นซึ่งเป็นลูกค้าของคนทำงานบริการ (มาตรา 35) อธิบดีกรมตำรวจจะออกใบรับรองให้ตำรวจทำหน้าที่เป็นสายสืบ (มาตรา 35) ตำรวจที่ทำหน้าที่เป็นสายสืบจะสามารถทำหน้าที่ถึงแม้ว่าจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย (เช่น จูงใจให้ซื้อบริการ) (มาตรา 56)
การรักษาความลับ
หากตำรวจได้รับข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลใดในขณะปฏิบัติหน้าที่ ตำรวจต้องไม่เปิดเผยข้อมูลนี้ ยกเว้นแป็นการปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินคดีความผิดตามพระราชบัญญัติการค้าประเวณี ซึ่งได้รับอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรจากรัฐมนตรี หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือในกรณีอื่นๆที่ได้รับอนุมัติ(มาตรา 58)
Reference (อ้างอิง):
WESTERN AUSTRALIAN CONSOLIDATED ACTS; Australasian Legal Information Institute; 16 September 2015 http://www.austlii.edu.au/au/legis/wa/consol_act/pa2000205/ (Accessed: 24/09/2015)
Western Australian Legislation 13 September 2013 http://www.slp.wa.gov.au/legislation/statutes.nsf/main_actsif.html (Accessed: 24/09/2015)
การร้องเรียน
คุณร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจได้ด้วยตนเองหรือทางโทรศัพท์กับตำรวจผู้มีหน้าที่รับผิดชอบที่สถานีตำรวจท้องที่หรือสำนักงานตำรวจของเขต
- ทางไปรษณีย์: Police Complaints Administration Centre, Level 10, Septimus Roe Square, 256 Adelaide Terrace, Perth WA 6000
- ทางโทรศัพท์: Police Complaints Administration Centre (08) 9223 1000
- ทางแฟกซ์: (08) 9223 1010
- ทางอีเมล: police.complaints.administration.centre@police.wa.gov.au
- ทางออนไลน์: http://www.police.wa.gov.au/Aboutus/Commendationscomplaints/Onlinecomplaint/tabid/1684/Default.aspx
สำเนาเรื่องร้องเรียนต่ออธิบดีกรมตำรวจจะถูกส่งไปยังคณะกรรมาธิการสอบสวนความผิดทางอาญาและการทุจริต ดังนั้นคุณอาจได้รับจดหมายจากคณะกรรมาธิการฯ
- ด้วยตนเอง: Corruption and Crime Commission of Western Australia, 186 St George's Terrace, Perth WA
- ทางไปรษณีย์: PO Box 7667, Cloisters Square, Perth WA 6850 https://www.ccc.wa.gov.au/Reporting/Documents/Serious%20Misconduct%20Report%20Form.pdf
- ทางโทรศัพท์: (08) 9215 4888 ขอพูดกับหน่วยรับคำร้องเรียน Complaints Assessment Unit
- หมายเลขโทรฟรี: 1800 809 000
- ทางแฟกซ์: (08) 9215 4884
- ทางอีเมล: info@ccc.wa.gov.au
- ออนไลน์: https://www.ccc.wa.gov.au/Reporting/Pages/ReportMisconduct.aspx
Reference (อ้างอิง):
Complaints Administration Centre; Western Australia Police http://www.police.wa.gov.au/Aboutus/Commendationscomplaints/Complaintsadministration/tabid/1294/Default.aspx and https://www.ccc.wa.gov.au/Reporting/Pages/reportingMisconduct.aspx (Accessed: 24/09/2015)
ตำรวจเขตการปกครองตนเองนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี
พระราชบัญญัติควบคุมการค้าประเวณี
อำนาจของตำรวจในการเข้าตรวจสถานที่บางแห่ง:
ตำรวจที่ได้รับอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรจากอธิบดีกรมตำรวจ หรือตำรวจที่มียศระดับสิบตำรวจเอกหรือสูงกว่าสามารถเข้าตรวจสถานบริการ หรือที่สงสัยว่าเป็นสถานบริการ (มาตรา 52)
ตำรวจเข้าตรวจเอเย่นต์เอสคอร์ทที่มีใบอนุญาตเมื่อไรก็ได้ เพื่อตรวจใบอนุญาตและการปฏิบัติตามกฎของใบอนุญาต (มาตรา 52(3)) หากเอเย่นต์เอสคอร์ทไม่อนุญาตให้ตำรวจเข้าตรวจ ตำรวจอาจใช้กำลังบุกเข้าในอาคารได้ (มาตรา 52(4)) หากขัดขวาง กีดกัน หรือขวางทาง ไม่ให้ตำรวจเข้าตรวจเอเย่นต์เอสคอร์ท ถือเป็นความผิด (มีโทษจำคุกสองปี) (มาตรา 52(5))
หลังที่ตำรวจเข้าตรวจสถานที่ อธิบดีกรมตำรวจต้องส่งรายงานรายละเอียดการปฏิบัติงานของตำรวจไปยังประธานคณะกรรมาธิการออกใบอนุญาตเขตการปกครองตนเองนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี(มาตรา 52(6))
มาตรา 50 การรักษาความลับ - บุคคลที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่มีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลที่ได้รับเกี่ยวกับบุคคลใดในขณะปฏิบัติหน้าที่ ยกเว้น
(a) ได้รับความยินยอมจากบุคคลที่ข้อมูลเกี่ยวข้องด้วย หรือ
(b) ในเรื่องที่เกี่ยวข้องการบังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ (พระราชบัญญัติควบคุมการค้าประเวณี)
Reference (อ้างอิง):
Northern Territory Consolidated Acts; Australasian Legal Information Institute; 21 September 2015. http://www.austlii.edu.au/au/legis/nt/consol_act/pra317/index.html#p3 (Accessed: 24/09/2015)
การร้องเรียน
การร้องเรียนเกี่ยวกับลูกจ้างของกรมตำรวจเขตการปกครองตนเองนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรและส่งไปที่
- ทางไปรษณีย์: Professional Standards Command, PO Box 39764, Winnellie NT 0821
- ทางโทรศัพท์: 1800 750 984
- ทางแฟกซ์: (08) 8901 0322
- ทางออนไลน์: https://fs12.formsite.com/PFES/Compliments_-_Complaints/secure_index.html
- ด้วยตนเอง: ติดต่อได้ที่เคาน์เตอร์ด้านหน้าทุกสถานีหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ
หากคุณต้องการสอบถามเรื่องการร้องเรียน หรือต้องการรายละเอียดติดต่อผู้จัดการสำนักงานจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ให้ติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 131 444
คุณร้องเรียนไปที่ Ombudsman (เจ้าหน้าที่เฉพาะกิจมีหน้าที่รับฟังการวิจารณ์และข้อคิดเห็นของประชาชน) ได้เช่นกัน
- ทางออนไลน์: http://www.ombudsman.nt.gov.au
- ด้วยตนเอง: Darwin Office 12th Floor, NT House, 22 Mitchell Street, Darwin NT 0800
- ทางไปรษณีย์: PO Box 1344 Darwin NT 0801
- ทางโทรศัพท์: (08) 8999 1818, Free call:1800 806 380
- ทางแฟกซ์: (08) 8999 1828
- ทางอีเมล: nt.ombudsman@nt.gov.au
Reference (อ้างอิง):
COMPLAIN ABOUT POLICE; Northern Territory Police; http://www.lawstuff.org.au/nt_law/topics/police/complaints-about-police (Accessed: 24/09/2015)
The Ombudsman NT http://www.ombudsman.nt.gov.au/node/47/contact-us (Accessed: 24/09/2015)
ตำรวจเขตการปกครองตนเองออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี
(เป็นหน่วยงานเดียวกันกับตำรวจแห่งสหพันธรัฐ)
พระราชบัญญัติการค้าประเวณีปีค.ศ.1992
มาตรา28 การเข้าตรวจสถานที่ของตำรวจ
ตำรวจเข้าตรวจสถานบริการหรือเอเย่นต์เอสคอร์ทได้ หากตำรวจมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่า —
(a) ได้มีการทำความผิดตามมาตรา 20, 21 หรือ 23* กำลังกระทำความผิด หรือมีความเป็นไปได้ว่าจะกระทำความผิดในสถานที่นั้น และ
(b) มีความจำเป็นต้องเข้าตรวจสถานที่เพื่อป้องกันไม่ให้กระทำผิด หรือกระทำผิดอีก เพื่อสืบสวนการกระทำผิด หรือจับกุมผู้กระทำผิด
*มาตรา 20: ให้เด็กขายบริการ ฯลฯ
มาตรา 21: รายได้จากการให้เด็กค้าบริการ
มาตรา 23: มีเด็กในสถานบริการ
Reference (อ้างอิง):
Australian Capital Territory LEGISLATION REGISTER
http://www.legislation.act.gov.au/a/1992-64/current/pdf/1992-64.pdf CONSOLIDATED ACTS; Australasian Legal Information Institute; 21 September 2015 http://www.austlii.edu.au/au/legis/act/consol_act/pa1992205/ (Accessed: 24/09/2015)
พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนปีค.ศ. 2004
ในขณะทำหน้าที่ตำรวจไม่สามารถปฏิบัติตนในทางที่ขัดต่อสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชนหมายถึงสิ่งต่อไปนี้เช่น สิทธิเฉพาะส่วนตัวและศักดิ์ศรี สิทธิการคุ้มครองด้านกฎหมายโดยเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือกปฎิบัติ อ่านรายการสิ่งที่เป็นสิทธิมนุษยชนได้ในภาคที่ 3 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนปีค.ศ.2004 ที่ http://www.legislation.act.gov.au/a/2004-5/current/pdf/2004-5.pdf.
การตัดสินใจของตำรวจจำเป็นต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของคุณอย่างยุติธรรม (มาตรา40B)
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคดีอาญาปี ค.ศ.1900
ตำรวจเขตการปกครองตนเองออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี (หรือ ACT) อาจขอหมายค้นสถานที่หากมีพยานวัตถุที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดด้าน “การเป็นทาสทางเพศ” ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคดีอาญา (ภาคที่ 5 มาตรา194 และ มาตรา195) หมายค้นอาจอนุญาตให้ค้นตัวบุคคลที่อยู่ในสถานที่นั้นและบริเวณใกล้เคียงแบบทั่วไปและแบบรวดเร็ว
ตำรวจ ACT อาจเข้าตรวจสถานที่ในกรณีฉุกเฉิน หากกำลังมีการกระทำความผิด หรือเป็นไปได้ว่าจะมีการกระทำความผิดขึ้น มีบุคคลได้รับบาดเจ็บ หรือ มีภยันตรายที่ใกล้มาถึงอาจทำให้บุคคลบาดเจ็บหรือทรัพย์สินเสียหาย และมีความจำเป็นต้องเข้าตรวจเพื่อป้องกันการกระทำความผิด (มาตรา190)
บุคคลอาจต้องให้ชื่อและที่อยู่แก่ตำรวจ หากตำรวจเชื่อว่าบุคคลนั้นสามารถช่วยตำรวจในการสืบสวนการกระทำผิด หรืออาจมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้ว (มาตรา 211)
การร้องเรียน
สำนักมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพตำรวจแห่งสหพันธรัฐ มีหน้าที่สืบสวนการร้องเรียนเกี่ยวกับตำรวจใน ACT และตำรวจแห่งสหพันธรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่นอกเขต ACT การร้องเรียนไปยังสำนักมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพตำรวจแห่งสหพันธรัฐทำได้ดังนี้คือ
- ด้วยตนเอง: ที่สำนักงานหรือสถานีตำรวจของตำรวจแห่งสหพันธรัฐ
- ทางไปรษณีย์: Professional Standards, AFP, GPO Box 401. Canberra ACT 2601
- ทางโทรศัพท์: Professional Standards Hotline (02) 6131 6789
- ทางอีเมล: PRS-ComplaintsCoordinationTeam@afp.gov.au
- ทางออนไลน์: ใช้แบบฟอร์มบนเว็บไซต์www.afp.gov.au
หากคุณไม่พอใจกับผลลัพธ์ของการร้องเรียน คุณยังสามารถร้องเรียนเกี่ยวกับตำรวจของสหพันธรัฐ รวมทั้งตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ใน ACT ได้ที่ Commonwealth Ombudsman (เจ้าหน้าที่เฉพาะกิจของสหพันธรัฐมีหน้าที่รับฟังการวิจารณ์และข้อคิดเห็นของประชาชน) คุณร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจสหพันธรัฐคนใดคนหนึ่ง หรือนโยบาย หรือการดำเนินงานของกรมตำรวจแห่งสหพันธรัฐได้ที่
- ทางไปรษณีย์: GPO Box 442, CANBERRA ACT 2601
- ทางโทรศัพท์: 1300 362 072
- ทางแฟกซ์: (02) 6276 0123
- ทางอีเมล: ombudsman@ombudsman.gov.au
- ทางออนไลน์: https://forms.business.gov.au/smartforms/servlet/SmartForm.html?formCode=act-complaint-form
References (อ้างอิง):
MAKING A COMPLAINT ABOUT THE AUSTRALIAN FEDERAL POLICE; http://www.afp.gov.au/~/media/afp/pdf/c/feedback-about-the-afp.pdf (Accessed 24/09/2015)
COMMONWEALTH OMBUDSMAN hhttp://ombudsman.act.gov.au/ (Accessed 24/09/2015)
ตำรวจแห่งสหพันธรัฐ (Australian Federal Police)
ตำรวจแห่งสหพันธรัฐเข้าตรวจสถานบริการของคุณได้หากต้องการสืบสวนการกระทำผิดเกี่ยวกับ การมีทาส ทาสทางเพศ หรือ การค้ามนุษย์ บางครั้งตำรวจอาจเข้าตรวจพร้อมกับเจ้าหน้าที่จากหน่วยราชการอื่นๆ เช่น กระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและการเป็นพลเมือง(อิมฯ) เซ็นเตอร์ลิงก์ หรือ กรมสรรพากร
ตำรวจควรมีตราเครื่องหมาย(ซึ่งมีรูปถ่าย) และเข้าตรวจสถานที่ได้ต่อเมื่อคุณยินยอมให้เข้าหรือมีหมาย
ตำรวจแห่งสหพันธรัฐมีอำนาจแยกต่างหากเกี่ยวกับการกระทำความผิดของผู้ก่อการร้าย ภายใต้กฎหมายต่อต้านผู้ก่อการร้ายตำรวจแห่งสหพันธรัฐมีอำนาจเพิ่มขึ้นที่สามารถ หยุด ค้น เข้าตรวจ และควบคุมตัว อำนาจนี้คงแทบจะไม่ได้นำมาใช้กับสถานบริการ แต่คุณควรถามตำรวจว่าใช้อำนาจกฎหมายอะไรมาค้น สอบถาม หรือควบคุมตัวคุณ
ประมวลกฎหมายอาญาปี ค.ศ.1995
หมวด 270—การมีทาส ทาสทางเพศ และการรับคนเข้าทำงานโดยการล่อลวง
หมวด 271—การค้ามนุษย์ และแรงงานขัดหนี้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคดีอาญาปี ค.ศ. 1914
ตำรวจขอหมายเพื่อค้นสถานที่หรือรถยนต์ได้ หากมีเหตุผลสมควรที่คาดว่าจะพบหลักฐานภายใน 72 ชั่วโมงในสถานที่นั้น (มาตรา 3E) ตำรวจที่ได้รับอำนาจในหมายสามารถค้นและบันทึกลายพิมพ์นิ้วมือ และเก็บตัวอย่างเพื่อกระบวนการทางกฎหมาย ตำรวจค้นและยึดหลักฐานที่ระบุบนหมายได้
ตำรวจยึดสิ่งของได้หากมีเหตุผลสมควรที่เชื่อได้ว่าสิ่งของเหล่านั้นเป็นหลักฐานการกระทำผิดตามหมายค้น หรือสิ่งของเป็นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดร้ายแรงอื่น หรือเป็นพยานวัตถุ หรือทรัพย์สินที่ตกอยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดทางอาญาปีค.ศ.2002 (Proceeds of Crimes Act 2002) ตำรวจยึดสิ่งเหล่านี้ได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุผลสมควรที่เชื่อได้ว่าการยึดทรัพย์สินนั้นเป็นการป้องกันไม่ให้สิ่งของถูกอำพราง สูญหาย หรือถูกทำลาย หรือป้องกันไม่ให้นำไปใช้กระทำความผิดอีก (มาตรา 3F)
สำหรับการตรวจค้นตัวบุคคลในสถานที่หรือบริเวณใกล้เคียงแบบรวดเร็วหรือการตรวจแบบทั่วไป จะต้องถูกระบุในหมายและต้องมีเหตุผลสมควรที่เชื่อได้ว่าบุคคลนั้นมีหลักฐานในตัว หรือสิ่งที่ยึดได้ (มาตรา3F) สิ่งที่ยึดได้หมายถึงสิ่งใดก็ตามที่อาจเป็นอันตราย (เช่น อาวุธ) หรือสิ่งที่ช่วยบุคคลใดหนีจากการคุมขัง ตำรวจยึดสิ่งเหล่านี้ได้หากพบในสถานที่ที่เข้าค้น หากหมายค้นเป็นหมายที่เกี่ยวกับสถานที่ ตำรวจต้องให้สำเนาแก่คนที่อาศัยอยู่ และหากหมายค้นเกี่ยวข้องกับบุคคล ตำรวจต้องให้สำเนาแก่บุคคลนั้น (มาตรา 3H)
References (อ้างอิง):
COMLAW; www.comlaw.gov.au (Accessed 24/09/2015)
LIP: Legal Issues for Professionals; Page 15
http://www.communitylaw.org.au/stkilda/cb_pages/images/LIP%20Reprint%202009%20final%20version.pdf (Accessed 24/09/2015)
การร้องเรียน
ขั้นตอนการร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจแห่งสหพันธรัฐเหมือนกับการร้องเรียนเกี่ยวกับตำรวจใน ACT เพราะตำรวจแห่งสหพันธรัฐมีหน้าที่เป็นตำรวจใน ACT ด้วย ดูรายละเอียดในหัวข้อเกี่ยวกับการร้องเรียนใน ACT ด้านบน
การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง
หากคุณทำงานด้านธุรกิจในออสเตรเลีย กระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและการเป็นพลเมือง (อิมฯ) อาจมาตรวจที่ทำงานของคุณ หรือผ่านทางการลงโฆษณาของคุณ หากอิมฯเชื่อว่าสถานบริการจ้างคนทำงานที่ไม่มีวีซ่าอนุญาตให้ทำงานในออสเตรเลีย
คุณเช็คดูสถานะวีซ่า (รวมทั้งสิทธิในการทำงาน) ทางออนไลน์ได้จากเว็บไซต์ของอิมฯที่ Visa Entitlement Verification Online (VEVO) for Visa Holders
http://www.border.gov.au/vevo
เจ้าหน้าที่อิมฯที่เข้าตรวจสถานบริการต้องมีบัตรแสดงตัว และหมายค้นถูกต้องตามกฎหมาย หรือเจ้าของร้านยินยอมให้เข้า และต้องบอกเจ้าของร้านหรือผู้จัดการร้านถึงเหตุผลที่เข้าตรวจ เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติดังนี้
ค้นสถานที่ทั้งหมด กระเป๋าถือ และสิ่งของส่วนตัว
ใช้กำลังตามสมควรหากจำเป็น และใส่กุญแจมือได้หากเกรงว่าคนทำงานจะหนี ทำร้ายตนเองหรือทำร้ายผู้อื่น
ให้คนทำงานแต่งตัวหากไม่ได้ใส่เสื้อผ้า
ขอให้คนทำงานถอดเสื้อคลุมกันหนาวหรือเสื้อแจ็กเกตออก
ตรวจค้นโดยตบเบาๆตามตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัว
ขอดูบัตรแสดงตัว เช่น พาสปอร์ต ใบขับขี่ หรือบัตรนักเรียน หรือบัตรเมดิแคร์ ของทุกคนที่อยู่ในร้าน
หากคุณมีเอเย่นต์ยื่นขอวีซ่า(ไมเกรชั่น เอเจ้นท์) คุณควรให้ชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ของเขาแก่เจ้าหน้าที่อิมฯ คุณควรทราบว่าเจ้าหน้าที่อิมฯมีอำนาจเข้าตรวจคนทำงานในสถานบริการและขอดูบันทึกชั่วโมงทำงานได้ หากคุณไม่มีเอเย่นต์ยื่นขอวีซ่า คุณติดต่อขอคำแนะนำเรื่องเอเย่นต์จากเราได้
บอกเจ้าหน้าที่อิมฯว่าคุณกังวลเรื่องการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวและการรักษาความลับ และถามเรื่องการคุ้มครองข้อมูลของเจ้าหน้าที่อิมฯ ย้ำให้เจ้าหน้าที่อิมฯทราบว่าคุณไม่ต้องการให้คนอื่นๆทราบข้อมูลของคุณ
หากคุณถูกควบคุมตัวและไม่อนุญาตให้ออกจากร้าน คุณขอล่ามได้ คุณมีสิทธิไม่ตอบคำถามจนกว่าจะมีล่าม คุณมีสิทธิขอคำแนะนำด้านกฎหมายจากทนาย คำแนะนำเรื่องวีซ่าจากเอเย่นต์ยื่นขอวีซ่า หรือคำแนะนำทางกงสุลจากเจ้าหน้าที่สถานทูต คุณต้องได้รับ “สิ่งอำนวยความสะดวกทุกอย่าง” เพื่อขอคำแนะนำด้านกฎหมาย (มาตรา 256 - พระราชบัญญัติว่าด้วยการย้ายถิ่นฐานปีค.ศ. 1958 (Migration Act 1958))
คุณอาจต้องตอบคำถามก่อนที่จะมีโอกาสขอคำแนะนำด้านกฎหมาย เพื่อลงความเห็นว่าคุณเป็นผู้ที่อยู่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ (มาตรา 257 พระราชบัญญัติว่าด้วยการย้ายถิ่นฐานปีค.ศ. 1958(สหพันธรัฐ)) หากคุณไม่ตอบคำถาม หรือให้การเท็จหรือทำให้เข้าใจผิดคุณอาจมีความผิดถูกจำคุกได้ถึงหกเดือน หากคุณถูกควบคุมตัวคุณควรขอคำแนะนำด้านกฎหมายโดยเร็วที่สุด
หากคุณได้รับการติดต่อทางโทรศัพท์ คุณใช้ชื่อที่ใช้ทำงานได้และไม่ต้องให้รายละเอียด เพราะคุณไม่สามารถบอกได้ว่าคนที่โทรฯมาเป็นเจ้าหน้าที่อิมฯ ให้คุณขอชื่อและเบอร์โทรศัพท์แล้วโทรกลับ จากประสบการณ์ของเราเจ้าหน้าที่อิมฯจะไม่โทรติดต่อ น่าจะเป็นพวกเล่นพิเรนมากกว่า (คนที่แกล้งเป็นเจ้าหน้าที่อิมฯ หรือตำรวจ)
Reference (อ้างอิง):
MIGRATION ACT 1958 - Australasian Legal Information; http://www.austlii.edu.au/au/legis/cth/consol_act/ma1958118/ (accessed 24/9/2015)
LIP: Legal Issues for Professionals; Page 17 http://www.communitylaw.org.au/stkilda/cb_pages/images/LIP%20Reprint%202009%20final%20version.pdf (Accessed 24/09/2015)
คุณส่งคำชมเชย ร้องเรียน หรือแนะนำ ไปที่กระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและการเป็นพลเมือง (อิมฯ) ได้โดย
- โทรศัพท์ไปที่หน่วยงาน Global Feedback Unit ในระหว่างเวลาทำการที่หมายเลข 133 177
- ทางออนไลน์: http://www.border.gov.au/about/contact/provide-feedback/compliments-complaints-suggestions/visa-citizenship-service
- ส่งจดหมายไปที่: The Manager, Global Feedback Unit, GPO Box 241, Melbourne Victoria 3001
- ติดต่อสำนักงานกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและการเป็นพลเมืองใกล้บ้านด้วยตนเอง
หากเจ้าหน้าที่อิมฯปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมหรือทุจริต คุณควรรายงานไปที่ Commonwealth Ombudsman โดยการเขียนจดหมาย โทรศัพท์ ด้วยตนเอง หรือกรอกฟอร์มของ Ombudsman ทางออนไลน์
- ทางไปรษณีย์: GPO Box 442, Canberra ACT 2601
- ทางโทรศัพท์: 1300 362 072 Fax: (02) 6276 0123
- ทางอีเมล: ombudsman@ombudsman.gov.au
- ทางออนไลน์: https://forms.business.gov.au/smartforms/servlet/SmartForm.html?formCode=oco-complaint-form
Reference (อ้างอิง):
COMPLIMENTS AND COMPLAINTS; Department of Immigration and Border Protection http://www.border.gov.au/about/contact/provide-feedback#b (Accessed: 24/09/2015)
Commonwealth Ombudsman http://www.ombudsman.gov.au/pages/contact-us/ (Accessed: 24/09/2015)
การติดต่อกับเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร
กรมสรรพากรออสเตรเลีย (Australian Taxation Office หรือ ATO) อาจบังคับบุคคลหรือธุรกิจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาษีให้
มอบข้อมูลใดที่กรมสรรพากรถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้องและ
มอบเอกสารใดที่กรมสรรพากรถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง
กรมสรรพากรอาจตรวจสอบบัญชีของบุคคลใดก็ได้ อย่างไรก็ตามกรมสรรพากรไม่มีสิทธิขอดูข้อมูลหรือเอกสารจากทนายซึ่งเป็นผู้แทนของลูกความ และกรมสรรพากรจะไม่ขอดูเอกสารของผู้ตรวจสอบบัญชีหรือเอกสารซึ่งเตรียมโดยนักบัญชีซึ่งเป็นผู้ให้คำแนะนำเรื่องภาษีแก่ลูกค้า https://www.ato.gov.au/General/Gen/Guidelines-to-accessing-professional-accounting-advisors--papers/
กรมสรรพากรมีสิทธิเข้าตรวจอาคาร สถานที่ บัญชี และ เอกสาร (พระราชบัญญัติการประเมินภาษีอากรปีค.ศ. 1936 ( Income Tax Assessment Act 1936) มาตรา 263 พระราชบัญญัติภาษีฉบับอื่นๆให้อำนาจเช่นเดียวกัน) ซึ่งหมายความว่ากรมสรรพากรสามารถตรวจสอบหลักฐานที่บันทึกหรือเก็บไว้ในอาคารใดๆโดยไม่ต้องมีหมายค้น ในบางกรณีหากกรมสรรพากรมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าเอกสารอาจถูกทำลาย หรือเปลี่ยนแปลง หรือในกรณีการสืบสวนด้านภาษีที่เกี่ยวกับความผิดทางอาญา กรมสรรพากรสามารถปฏิบัติดังนี้คือ
- การตรวจค้นอย่างจู่โจม
- ใช้กำลังเข้าตรวจหากจำเป็น
- ใช้กำลังเปิดตู้ธนาคารที่ธนาคาร หรือที่อื่นหากจำเป็น
ในกรณีเช่นนี้เจ้าหน้าที่สรรพากรจะให้เวลาและให้โอกาสคุณติดต่อตัวแทนของคุณหลังจากเข้าตรวจค้น
ในกรณีที่มีการตรวจสอบบัญชี กรมสรรพากรสามารถปฏิบัติดังนี้คือ
- ทำสำเนาเอกสารทุกชิ้นที่พบ (ไม่สามารถนำเอกสารไป)
- ใช้สถานที่ เครื่องถ่ายเอกสาร โทรศัพท์ ไฟฟ้า และ สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ของผู้เสียภาษีได้ตามสมเหตุผล
- เรียกร้องให้บอกที่เก็บเอกสาร
ในกรณีเช่นนี้เจ้าหน้าที่สรรพากรจะให้เวลาและโอกาสให้คุณติดต่อตัวแทนของคุณหลังจากเข้าตรวจค้น
หากคุณไม่ปฏิบัติตามคำเรียกร้องของกรมสรรพากรคุณจะถูกปรับสูงมาก
Reference (อ้างอิง):
http://www.ombudsman.gov.au/files/onlineATO_access-without-notice_20100211.pdf and
http://www.comlaw.gov.au/Details/C2011C00427/Download (Accessed: 24/09/2015)
คุณให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่สรรพากรได้โดยไม่ให้คนอื่นได้ยินโดยวิธีดังต่อไปนี้
- ขอใช้ห้องในร้านเพื่อความเป็นส่วนตัว และขอให้มีเจ้าหน้าที่สรรพากรสองคนเพื่อไม่ให้เกิดเหตุไม่สมควรหรือการทุจริต ให้ข้อมูลเท่าที่จำเป็น
- ให้กรมสรรพากรติดต่อกับนักบัญชีหรือเอเย่นต์ทำภาษีของคุณ
- ให้หมายเลข Australian Business Number (ABN) หากคุณมี
- ขอนามบัตรของเจ้าหน้าที่สรรพากร เพื่อโทรกลับหรืออีเมลรายละเอียดให้เมื่อคุณอยู่ในที่ที่เป็นส่วนตัว
- เขียนรายละเอียดชื่อ วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ให้แก่เจ้าหน้าที่สรรพากร หรือส่งรายละเอียดไปให้กรมสรรพากร คุณต้องให้ที่อยู่ที่กรมสรรพากรสามารถติดต่อกลับ ที่อยู่ที่ทางกรมสรรพากรยอมรับมีดังนี้คือ
- ที่อยู่ของเอเย่นต์ทำภาษี หรือนักบัญชีของคุณ
- ที่อยู่ตู้ปณ. หรือ PO box
- ที่อยู่อาศัย
- ที่อยู่อื่นที่เลือก
คุณต้องเขียนตอบหากกรมสรรพากรส่งจดหมายมายังที่อยู่ที่คุณให้ไว้ มิฉะนั้นกรมสรรพากรจะดำเนินคดี
เจ้าหน้าที่สรรพากรไม่ควรโทรมาสอบถามรายละเอียดในขณะที่มีคนอื่นอยู่และสามารถได้ยินการสนทนา ซึ่งเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวของคุณ รายละเอียดอาจรวมถึง ชื่อเต็ม วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ
Reference (อ้างอิง):
SWOP NSW, “The Professional” Issue 57, 2006