Scarlet Alliance

  You are not logged in Log in
Welcome 中文 ไทย 한글

ข้อสรุป ตุลาคม พ.ศ. 2553 – การป้องกันการค้ามนุษย์ในออสเตรเลีย TRAFFICKING BRIEFING OCT 2010

โทรศัพท์ – 02 9690 0551
โทรสาร –02 9690 1013
ตู้ไปรษณีย์ –P. O. Box 2167,STRAWBERRY HILLS NSW 2017
ที่ตั้ง - Suite 9, 245 Chalmers Street, Redfern
อีเมล – info@scarletalliance.org.au
เว็บ – www.scarletalliance.org.au/




ข้อสรุป ตุลาคม พ.ศ. 2553 – การป้องกันการค้ามนุษย์ในออสเตรเลีย


การค้ามนุษย์ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ป้องกันได้

การค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมทางเพศในออสเตรเลียเป็นสิ่งที่ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้โดยอาศัยบริการสนับสนุนและการเข้าถึงข้อมูลผู้ให้บริการที่ได้รับผลจากการค้ามนุษย์แต่มิได้ถูกบังคับให้ทำงานบริการ โดยพวกเขามักจะสับสนเกี่ยวกับเรื่องสิทธิของตนเอง และเพราะเหตุนี้พวกเขาจึงอาจถูกหลอกในเรื่องเกี่ยวกับวีซ่าและสภาพของการทำงาน ชุมชนผู้ทำงานให้บริการในประเทศที่กำลังพัฒนา (เช่น มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ ประเทศไทย) และในประเทศที่พัฒนาแล้ว (เช่น สการ์เล็ท อะไลอันซ ออสเตรเลีย) ได้ทำงานร่วมกันเพื่อให้เป็นที่แน่ใจว่าผู้ทำงานบริการเข้าใจถึงสิทธิมนุษยชนของตน ผ่านทางการให้การศึกษาและการส่งต่อข้อมูลของเพื่อนร่วมอาชีพเดียวกัน


มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์นำขบวนแห่ในวันผู้ทำงานให้บริการแห่งชาติ อ่าวซิดนีย์ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553


สการ์เล็ท อะไลอันซ ออสเตรเลีย ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 เป็นหน่วยงานระดับสูงที่ทำหน้าที่แทนผู้ทำงานให้บริการและองค์กรผู้ให้ บริการทางเพศ งานของเรารวมถึงการพิทักษ์การตัดสินใจด้วยตนเองและสิทธิมนุษยชนของผู้ทำงานให้บริการที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในออสเตรเลีย ในบรรดาเจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร สมาชิกและผู้นำ มีทั้งผู้ทำงานให้บริการที่เป็นไทย จีน และ เกาหลี รวมอยู่ด้วย

มูลนิธิ เอ็มพาวเวอร์ ประเทศไทย ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2531 ทำงานร่วมกับผู้ทำงานให้บริการไทย และขณะนี้มีศูนย์ภูมิภาคอยู่แปดแห่ง มูลนิธิฯได้รับรางวัลชนะเลิศสิทธิมนุษยชนไทยแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2549 มีผู้ทำงานให้บริการไทยเป็นจำนวนมากอยู่ในโครงการช่วยเหลือผู้ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ คนเหล่านี้ตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรรมการค้ามนุษย์ในออสเตรเลีย

ซี เท็ง ฮ่องกง เป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้ทำงานให้บริการ มีหน้าที่บริหารความช่วยเหลือนอกสถานที่ การพัฒนาทรัพยากรและนโยบายในฮ่องกงและมาเก๊า และได้ทำงานร่วมกับผู้ทำงานให้บริการย้ายถิ่นมาเป็นเวลามากกว่าสิบปี ปี

สการ์เล็ท อะไลอันซ (ออสเตรเลีย), มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ (ประเทศไทย) และ ซี เท็ง (ฮ่องกง) ได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในประเด็นการย้ายถิ่นฐานในภูมิภาคนี้ – ด้วยการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ทำงานให้บริการ แบ่งปันข้อมูล ฝึกอบรมกันและกัน และหารือเกี่ยวกับประสบการณ์ของเรา ขณะนี้ ทั้งสามองค์กรกำลังดำเนินงานร่วมกันในการเตรียมการประชุมการย้ายถิ่นสการ์เล็ท อะไลอันซ (จากปี พ.ศ. 2548 ถึงปัจจุบัน) สการ์เล็ท อะไลอันซได้วางตัวอาสาสมัคร AYAD ไว้กับมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ (จากปี พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน) และซี เท็ง เป็นหุ้นส่วนกับสการ์เล็ท อะไลอันซในการวิจัยเรื่องผู้ทำงานให้บริการจีนในออสเตรเลีย (จากปีพ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน)



สการ์เล็ท อะไลอันซและมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์พบกับกรรมาธิการการกีดกันทางเพศ ลิซ บรอเดอริค มิถุนายน พ.ศ. 2553


องค์กรผู้ทำงานให้บริการให้บริการป้องกันการค้ามนุษย์และการส่งมอบต่อ – ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 สการ์เล็ท อะไลอันซได้จัดการประชุมนอกสถานที่ครอบคลุมถึง 40 ครั้ง และได้ติดต่อกับผู้ทำงานให้บริการกว่า 600 คน รวมแล้วเป็นการติดต่อที่มากกว่า 20,000 คน ต่อปีสมาชิกภาพของเรา มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ซึ่งเป็นองค์กรหุ้นส่วนของเราติดต่อกับผู้ทำงานให้ บริการ 842 คนในภาคเหนือของประเทศไทยผ่านทางการติดต่อนอกสถานที่ประจำสัปดาห์ จัดรายการประจำวันทางวิทยุ และการประชุมเวิร์ค ช็อป ปีละสี่ครั้ง การติดต่อเหล่านี้ติดต่อกับผู้ทำงานให้บริการ ทั้งขณะที่ยังอยู่ในประเทศไทยและก่อนหน้าที่จะเดินทางมายังออกสเตรเลีย และกับผู้ทำงานให้บริการไทยในออสเตรเลีย ให้การศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันการค้ามนุษย์ การส่งมอบต่อ และข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชน


การป้องกันที่มีคุณภาพ งานส่งมอบต่อและการให้ความรู้แก่เพื่อนร่วมอาชีพ เพิ่มคุณค่าต่อการต่อต้านการค้ามนุษย์ที่รัฐบาลออสเตรเลียกำลังดำเนินงานอยู่ในขณะนี้ – โดยการแปลข้อมูลวีซ่าและกฎหมายการทำงานบริการในออสเตรเลีย องค์กรผู้ทำงานให้บริการกำลังทำงานเคียงคู่ไปกับกระทรวงการเข้าเมืองและการ เป็นพลเมือง กรมตำรวจสหพันธรัฐ และกระทรวงการยุติธรรม ระหว่างเดือนธันวาคม 2552 และเดือนมิถุนายน 2553 องค์กรผู้ทำงานให้บริการทำงานประสานกับเครือข่ายต่างๆ มากกว่า 20 สำนักงานตัวแทน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการค้ามนุษย์ของออสเตรเลีย


การวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงหลักฐาน – สำหรับโปรแกรมที่สะท้อนให้เห็นภาพจริงของการค้ามนุษย์ สการ์เล็ท อะไลอันซกำลังนำโครงการวิจัยแห่งชาติโครงการหนึ่งออกดำเนินการร่วมกับสถาบัน อาชญากรรมวิทยาออสเตรเลีย และจะเสนอประเด็นเรื่องการค้ามนุษย์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ถึงแนวโน้มที่ปรากฎขึ้น รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องให้การศึกษาต่อไปเกี่ยวกับเรื่องวีซ่า สิทธิมนุษยชน และสภาพของสถานที่ทำงานแก่ผู้ทำงานให้บริการย้ายถิ่นในออสเตรเลียเป็น ภาษาไทย จีน และ เกาหลี
_____________________