Scarlet Alliance

  You are not logged in Log in
Welcome 中文 ไทย 한글

การประเมินผล EVALUATION

ความเป็นมาและคำชี้แจงเหตุผล กรอบการประเมินผลจะวัดผลการดำเนินงานของกิจกรรมในสี่ส่วนที่ระบุไว้ในข้อตกลงคือ a. การบริหารโครงการ (รวมทั้งการจัดการด้านงบประมาณ) b. การบรรลุขีดขั้นความสำเร็จและเป้าหมาย c. ผลกระทบของโครงการ และ d. ผลการดำเนินงานเปรียบเทียบกับตัวชี้วัดความสำเร็จที่กำหนดไว้

กรอบการติดตามการดำเนินงานและการประเมินผล ( Monitoring and Evaluation Framework )


การติดตามการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ทำได้ด้วยการนำข้อมูลในรูปแบบต่างๆมาใช้พิจารณารวมทั้ง ผลการสำรวจออนไลน์ การประเมินผลก่อนและหลังการจัดฝึกอบรม ข้อมูลป้อนกลับเชิงคุณภาพหรือสะท้อนความคิดเห็น สาระสำคัญและโอกาสที่ระบุได้ในช่วงระยะเวลาของโครงการ การสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วม เครื่องมือ/เอกสารที่ผลิตขึ้น ระดับการรับรู้ที่เพิ่มขึ้นด้านการค้ามนุษย์และด้านการบริการที่ช่วยป้องกัน รวมทั้งประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เช่น ข้อมูลด้านการสรรหาเจ้าหน้าที่โครงการ แผนงานที่จัดทำไว้แล้ว และบันทึกการประชุมของคณะกรรมการวางระเบียบวาระการประชุมและวิธีการดำเนินงาน


วิธีการที่นำมาใช้ในกรอบการประเมินผลงานนี้เป็นวิธีการประเมินผลที่ตั้งอยู่บนหลักการการมอบอำนาจการตัดสินใจแก่กลุ่มสมาชิกในชุมชน 1 การประเมินผลโดยวิธีนี้มีหลักการสำคัญซึ่งผลักดันทั้งการทำการประเมินผลและผลงานของโครงการทั้งหมด


หลักการสำคัญนี้ประกอบด้วย
- การเป็นเจ้าของโครงการขององค์กรชุมชน
- การมีส่วนร่วม
- ความยุติธรรมทางสังคม
- องค์ความรู้ในชุมชน
- การสร้างความพร้อม
- การตรวจสอบได้


นอกจากนี้วิธีการประเมินผลที่นำมาใช้จะเป็นในรูปแบบการปรึกษาหารือกันและให้ความสำคัญต่อความรู้และประสบการณ์ที่พิเศษเฉพาะเจาะจงของเจ้าหน้าที่โครงการและผู้เข้าร่วมโครงการนี้

บทบาทของเราในฐานะผู้ให้คำปรึกษาด้านการติดตามการดำเนินงานและการประเมินผล มีหน้าที่สนับสนุนการพัฒนาและการตัดสินใจภายในกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ โดยการส่งเสริมการใช้ข้อมูลป้อนกลับที่เป็นประโยชน์ ให้ผู้เข้าร่วมมีโอกาสสะท้อนถึงผลลัพธ์และปัญหาของโครงการ และสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการวิพากษ์วิจารณ์และสนับสนุนการเรียนรู้

แบบโครงสร้างทางยุทธวิธี (A Program Logic Model) 2 จะถูกนำมาใช้เพื่อจัดทำกรอบการประเมินผลงาน (ดูแบบโครงสร้างหน้าถัดไป) แบบโครงสร้างนี้จะช่วยผู้ประเมินผลและเจ้าหน้าที่โครงการ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตั้งข้อสมมติฐานและความคิดเห็นที่ชัดเจนเพื่อกำหนดทิศทางภารกิจของโครงการ

1 Fetterman, D & Wandersman, A. (Ed). 2005. Empowerment evaluation principles in practice. The Guilford Press. New York.
2 Guiding Program Direction with Logic Models W.K. Kellogg Foundation www.wkkf.org cited Nov 2009